วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โอท๊อปสตูล​สู่ตะวันออ​กกลาง

โอท๊อปสตูล สู่ตะวันออกกลาง มั่นใจศักภาพของไข่มุกอันดามัน สร้างตลาดสู่ดูไบ ยอดขายพุ่งถึง 100 ล้านบาท
          นายมงคล นุ้ยสีดา พัฒนาการ จ.สตูล กล่าวว่า  รัฐบาลกำหนดให้ การส่งเสริมอาชีพผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งเริ่มจากการการรวมกลุ่มของประชาชน ระดับฐานรากในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นภายใต้หลักการ ที่ประกอบไปด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ,พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์,การสร้างทรัพยากรมนุษย์โดยทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบทอดคงอยู่ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการลงทะเบียนและคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยซึ่งมีการลงทะเบียนฯ ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2553 จังหวัดสตูลมีผู้ประกอบการ/กลุ่ม มาลงทะเบียนจำนวน 164 ราย/กลุ่ม และส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรทั้งสิ้น 64 ราย ได้ระดับ 5 ดาว จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกุ้งแห้ง จากกลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเลบ้านมะหงัง  หมู่ที่ 1 บ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไข่มุก จากกลุ่มประดิษฐ์เครื่องประดับไข่มุก หมู่ที่ 1 บ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า และยังมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศในการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดสตูล ได้แก่ ชา-ชัก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการจัดแข่งขันการชักชาในงานกาชาดจังหวัดสตูลติดต่อกันมา 3 ปี นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณธ์ที่เหมาะจะเป็นของฝากเมื่อมาเยือนจังหวัดสตูล ได้แก่ ขนมบุหงาบูดะ ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ  กุ้งแห้ง กะปิ ว่าวควาย ตุ๊กตาเงาะเซ-มัง กล้วยกรอบแก้ว ขนมไข่ (บะฮฺฮูลู) ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้าน OTOP เทสโก้โลตัส อ.ควนโดน ร้านของดีชายแดนใต้ อ.ควนโดน ร้านของดีชายแดนใต้ บริเวณปากปารา และเทศบาลตำบลกำแพง อ.ละงู ร้านของดีชายแดนใต้ หน้าถ้ำภูผาเพชร อ.มะนัง 
ในปีงบประมาณ 2555 จังหวัดสตูลได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จากกรมการพัฒนาชุมชน 947,030 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง เพิ่มทักษะการบริหารจัดการ การพัฒนาอาชีพ เพิ่มมาตรฐานและคุณภาพสินค้าสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีกิจกรรมดังนี้1.  สนับสนุนศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก2.  การเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการจัดทำแผนธุรกิจ
3.  เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge-Based OTOP : KBO) จังหวัดสตูล
4.  ส่งเสริมาช่องทางการตลาด OTOP MOBILE TO THE FACTORY AND FASTIVAL
5.  ส่งเสริมและพัฒนาคลังภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนอกจากนี้จังหวัดสตูล ยังสนับสนุนให้กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เข้าร่วมงานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ จัดขึ้น เช่น งาน OTOP เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ, งานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี, งาน OTOP ภูมิภาค, งาน OTOP เพื่อช่วยเหลือผู้และฟื้นฟูผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น โดยมีรายได้ในภาพรวมของจังหวัดสตูล ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2555 ประมาณ 200 ล้านบาทนอกจากนี้ ไข่มุกอันดามันของ จ.สตูล  ยังได้ส่งออกไปยังตะวันออกกลางโดยเฉพาะ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเหรด และเป็นการเปิดตลาดที่กว้างไกล ในตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกและขณะนี้ได้มียอดขายที่นับวันเติบโต ไปเลื่อย ๆ ถึง 100 ล้านบาทในช่วงระยะเวลาเพียงอันสั้นเท่านั้น  
รายงานโดย...นีรนุช / สตูล

ไม่มีความคิดเห็น: